ลดหย่อนภาษี เงินบริจาค - TaxTeller

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562

ลดหย่อนภาษี เงินบริจาค

ลดหย่อนภาษี เงินบริจาค

     การบริจาคเงินถือเป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ เป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อน ซึ่งโดยปกติเราคนเดียวไม่สามารถช่วยเหลือผู้เดือดร้อนได้ทั้งหมด แต่เมื่อมีการบริจาคจากหลายๆคนรวมกันก็อาจเป็นจำนวนเงินที่ไม่ใช่น้อยเลยที่เดียว ซึ่งเราก็บริจาคได้ตามกำลังศรัทธา และกำลังเงินของเราโดยการบริจาคนั้นอย่าให้ตัวเราเองเดือดร้อน ให้บริจาคแล้วรู้สึกเป็นสุข อิ่มเอิบ ได้กุศล ไม่จำเป็นว่าเงินนั้นจะมากน้อยแค่ไหน ผู้เขียนว่าขึ้นอยู่กับใจของเราเองมากกว่า
    ประโยชน์ของการบริจาคนั้นนอกจากผู้รับบริจาคจะได้รับการบรรเทาความเดือดร้อนแล้ว ผู้บริจาคก็จะได้ความสุขใจ ได้บุญ แถมยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย โดยรายละเอียดและหลักเกณฑ์การใช้สิทธิลดหย่อนภาษี มีดังนี้

ผู้รับบริจาค

     1. สถานพยาบาลและสถานศึกษาของทางราชการ  (ไม่รวมกระทรสง ทบวง กรม ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ)
     2. สถานศึกษาที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
     3. สถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
     4. สถานศึกษาขององค์การของรัฐบาล
     5. สภากาชาดไทย
     6. วัดวาอาราม โบสถ์ มัสยิด
     7. มูลนิธิ หรือสถานสาธารณกุศล ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนด (ตรวจสอบรายชื่อคลิกที่นี่)

การบริจาค  บริจาคเป็นเงินเท่านั้น

วัตถุประสงค์การบริจาค  ไม่มีเงื่อนไข 

หลักฐาน  

     1. ใบเสร็จรับเงินจากผู้รับบริจาค หรือ
     2. หลักฐานอื่นเป็นหนังสือที่ออกโดยผู้รับบริจาค เช่น หนังสือขอบคุณ ใบประกาศเกียรติคุณ ใบอนุโมทนาบัตร
     3. โดยหลักฐานต้องระบุจำนวนเงินที่ได้บริจาคและสามารถพิสูจน์การรับบริจาคจากผู้บริจาคได้ โดยมีการรับรองอย่างชัดแจ้งจากผู้รับบริจาคว่าได้รับบริจาคจริง
     4. ระบุชื่อผู้บริจาคให้ชัดเจน เพื่อสะดวกในการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี

กรณีตัวอย่าง

กรณีที่ 1 ใบอนุโมทนาบัตร ระบุชื่อนาย ก และครอบครัว บริจาคเงิน จำนวน 1,000 บาท   หากนาย ก เป็นผู้มีเงินได้ นาย ก สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ทั้งจำนวน แต่หาก นาย ก เป็นผู้ไม่มีเงินได้ นาง ข ซึ่งเป็นภริยาและเป็นผู้มีเงินได้ ไม่สามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนได้เลย
กรณีที่ 2 ใบอนุโมทนาบัตร ระบุชื่อ นาย ก และ นาง ข บริจาคเงิน จำนวน 2,000 บาท กรณีนี้ใช้สิทธิลดหย่อนได้คนละกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่บริจาค ถ้าต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ก็สามารถนำไปลดหย่อนได้คน 1,000 บาท แต่ถ้านาย ก ไม่มีเงินได้ ไม่มีสิทธินำไปลดหย่อนได้ ส่วนนาง ข มีเงินได้ ก็สามารถนำไปใช้สิทธิได้เพียง 1,000 บาท เท่านั้น
(การใช้สิทธิลดหย่อนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย)

การใช้สิทธิลดหย่อน 

     ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อน และเงินบรืจาค 2 เท่าแล้ว  โดยให้นำไปกรอกรายการใน 6 หักเงินบริจาค  (ไม่เกินร้อยละ 10)

   
     ยังมีอีกประเด็นที่อยากบอกคือเรื่องการบริจาคในกรณีที่ผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดา การลดหย่อนภาษีเงินบริจาคจะลดหย่อนได้เฉพาะการบริจาคเงินเพียงอย่างเดียว ดังนั้นหลักฐานที่นำมาแสดงเพื่อใช้สิทธิลดหย่อน ควรตรวจสอบให้ดีตั้งแต่ตอนที่บริจาคว่าผู้รับบริจาคเขียนว่าอย่างไร  เช่นควรจะเขียนว่า นาย ก บริจาคเงิน จำนวน 1,000 บาท เพื่อซื้ออุปกรณ์เครื่องใช้ ให้วัดxxx  ไม่ใช่นาย ก บริจาคอุปกรณ์เครื่องใช้ เป็นจำนวนเงิน 1,000 บาท ให้แก่วัดxxx เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น