การเก็บภาษีจากบุคคลธรรมดา
บุคคลธรรมดาแบบไหนที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี
บุคคลธรรมดา ก็คือ มนุษย์ที่มีสภาพบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
"สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอด แล้วอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย"
สรุปได้ก็คือ
- เป็นคนที่มีชีวิต
- ทุกเพศ
- ทุกวัย
- ทุกชาติ
- ทุกศาสนา
มีหน้าที่ต้องเสียภาษีถ้าเข้าองค์ประกอบดังนี้
1. มีรายได้ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น- รายได้ที่ได้รับจากการทำงานในประเทศไทย
- รายได้ที่เกิดจากการทำกิจการในประเทศไทย
- รายได้จากการทำงานให้นายจ้างที่มีกิจการอยู่ในประเทศไทย
- รายได้ที่เกิดจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย
2.1 ต้องอยู่ในประเทศไทยในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ มกราคม - ธันวาคม ในช่วงระยะเวลาใดก็ได้ จะต่อเนื่องกันรึไม่ก็ได้ เมื่อนับระยะเวลารวมแล้วถึง 180 วัน เรียกว่าเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย (การนับระยะเวลานับตามจำนวนวันที่อยู่ในประเทศไทยตามหนังสือเดินทาง)
2.2 มีรายได้จากต่างประเทศที่เกิดจาก
- การทำงานในต่างประเทศ
- การทำกิจการในต่างประเทศ
- ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ
2.3 นำรายได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีเดียวกันกับปีที่มีรายได้เกิดขึ้น
- การทำกิจการในต่างประเทศ
- ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ
2.3 นำรายได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีเดียวกันกับปีที่มีรายได้เกิดขึ้น
ประเภทเงินได้ | มีเงินได้เกิน | |
โสด | สมรส | |
เงินเดือนอย่างเดียว | 120,000.00 | 220,000.00 |
เงินได้อย่างอื่น | 60,000.00 | 120,000.00 |
สรุปง่ายๆ ถ้าคุณเป็นคนโสด มีรายได้จากการได้รับเงินเดือนเพียงอย่างเดียวตลอดทั้งปี ไม่เกิน 120,000.00 บาท ก็ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91)
แต่ถ้าคุณสมรสและคู่สมรสไม่มีรายได้ คุณมีรายได้จากการได้รับเงินเดือนเพียงอย่างเดียวตลอดทั้งปีไม่เกิน 220,000.00 บาท ก็ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91) เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามก็ถือว่าคุณเป็นผู้มีเงินได้แต่ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้เท่านั้นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น