เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเพราะเหตุออกจากงาน (หน่วยงานเอกชนและรัฐวิสาหกิจ) - TaxTeller

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเพราะเหตุออกจากงาน (หน่วยงานเอกชนและรัฐวิสาหกิจ)

เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเพราะเหตุออกจากงาน  (หน่วยงานเอกชนและรัฐวิสาหกิจ)

     เงินได้ออกจากงาน หรือเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ในที่นี้เงินได้บางประเภทได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้ออกจากงานที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีอะไรกันบ้าง ไปดูกัน

     1. เงินชดเชยตามกฎหมาย

         เงินชดเชยตามกฎหมายในที่นี้จะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เฉพาะค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้ายแต่ไม่เกิน 300,000.- บาท ที่เกิดจาก
          1. นายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด จะได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายตามระยะเวลาในการทำงานดังนี้

         2. นายจ้างเลิกจ้างเพราะนายจ้างย้ายสถานประกอบการไปยังสถานที่อื่น อันมีผลกระทบต่อการดำรงชีพตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว กรณีนี้ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชยดังนี้
            2.1 หากนายจ้างได้มีการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันย้ายสถานประกอบการแล้ว ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วย ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญา โดยจะได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่า 50% ของอัตราค่าชดชยปกติตามข้อ 1
           2.2 หากนายจ้างไม่ได้แจ้งลา่วงหน้า นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
        3. นายจ้างเลิกจ้างเพราะเหตุปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิตการจำหน่าย หรือการบริการอันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้ หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร หรือเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจำนวนลุกจ้างลง  นายจ้างต้องแจ้งวันที่จะเลิกจ้าง  เหตุผลของการเลิกจ้างต่อพนักงานตรวจแรงงาน และลูกจ้างที่จะถูกเลิกจ้าง ไม่น้อยกว่า 60 ก่อนวันที่จะเลิกจ้าง  กรณีนี้ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชยดังนี้
            3.1 ค่าชดเชยปกติตามข้อ 1
            3.2 หากนายจ้างไม่แจ้งหรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่า 60 วัน นอกจากจะได้รับค่าชดเชยปกติตามข้อ 1 แล้ว นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน

       วิธีการคำนวณเงินชดเชยที่ได้รับยกเว้น

ตัวอย่างที่ 1  ออกจากงานเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2562 ได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน 200,000 บาท ได้รับเงินเดือน 12 เดือนสุดท้ายเท่ากันทุกเดือนเดือนละ 25,000 บาท


 นำไปเปรียบเทียบกับ 300,000 บาท  ซึ่งได้น้อยกว่า จึงได้รับยกเว้นไม่เกิน 245,161.29 บาท แต่ได้รับเงินชดเชยจริงเพียง 200,000 บาท เท่ากับได้รับยกเว้นภาษีตามที่ได้รับจริงจำนวน 200,000 บาท

ตัวอย่างที่ 2 ออกจากงานเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2562 ได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน 350,000 บาท ได้รับเงินเดือน 12 เดือนสุดท้าย ดังนี้
มกราคม 2561 - ตุลาคม 2561 เดือนละ 30,000 บาท
พฤศจิกายน 2561 - ธันวาคม 2561 เดือนละ 35,000 บาท


นำไปเปรียบเทียบ 300,000 บาท ซึ่งมากกว่า จึงได้รับยกเว้นไม่เกิน 300,000 บาท แต่ได้รับเงินชดเชยจริงจำนวน 350,000 บาท ดังนั้นส่วนที่เกิน 300,000 บาท คือจำนวน 50,000 บาท ไม่ได้รับยกเว้นต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

     2. เงินหรือผลประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ      

     เมื่อเราสิ้นสภาพจากการเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่ว่ากรณีใดก็ตาม เราจะได้รับเงินและผลประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องนำมารวมคำนวณภาษี ยกเว้น 2 กรณีดังต่อไปนี้ที่ไม่ต้องนำเงินดังกล่าวมารวมคำนวณภาษี
        1. ได้รับเงินหรือผลประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เนื่องจาก ออกจากงาน เพราะ ตาย ทุพพลภาพ หรือมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์
        2. ออกจากงานก่อนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และมีสิทธิได้รับเงินหรือผลประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่ได้คงเงินหรือผลประโยชน์นั้นไว้ทั้งจำนวนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จนกระทั่ง ตาย ทุพพลภาพ หรืออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ จึงได้รับเงินหรือผลประโยชน์นั้น
        การจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ตามข้อ 1และ 2 ไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
                  1) กรณีตาย ต้องมีหลักฐานที่แสดงถึงการตาย (ใบมรณบัตร)
                  2) กรณีทุพพลภาพ  ต้องมีหลักฐานจากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าทุพพลภาพ (ใบรับรองแพทย์)
                  3) กรณีออกจากงานเมื่ออายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ต้องเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดังนี้
                      - เป็นสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน หรือ
                      - ถ้าเป็นสมาชิกยังไม่ถึง 5 ปีต่อเนี่องกัน ต้องเป็นสมาชิกไปจนมีระยะเวลาการเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน หรือ
                      - ถ้าเคยเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แล้วได้โอนเงินหรือผลประโยชน์ที่คงไว้ทั้งจำนวนไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ระยะเวลาการเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการรวมกับการเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้วต้องไม่น้อยกว่า 5 ปี
(การเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ถ้ามีการโอนเงินหรือผลประโยชน์ระหว่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้นับอายุการเป็นสมาชิกต่อเนื่องกัน)

     3. เงินชดเชยการว่างงานจากประกันสังคม

      เงินประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนได้รับจากกองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม  ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งจำนวน

     4. เงินหรือผลประโยชน์ที่ได้ีรับจากกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน

     เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชนได้รับจาก กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เมื่อครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชนออกจากงานเพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ดังนี้
               1) กรณีเหตุสูงอายุ ครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชนต้องออกจากงานเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ และมีระยะเวลาทำงานกับโรงเรียนเอกชนที่ทำงานอยู่ก่อนออกจากงานไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์
               2) กรณีทุพพลภาพ ต้องเป็นกรณีที่แพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่า ครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชนผู้นั้นไม่สามารถประกอบอาชีพครูต่อไปได้
               3) กรณีตาย ไม่ว่าการตายนั้นจะเกิดจากการปฏิบัติงานหรือไม่
     ทั้งนี้ ครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชนต้องมีการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และต้องมีหลักฐานจากโรงเรียนเอกชนเพื่อรับรองว่า ครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชนออกจากงานเพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย แล้วแต่กรณีมาแสดงด้วย   

อ้างอิง : ประมวลรัษฎากร ,www.rd.go.th   


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น