ลดหย่อนท่องเที่ยว - TaxTeller

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ลดหย่อนท่องเที่ยว

ลดหย่อนท่องเที่ยว


        มาตรการภาษีสำหรับการจ่ายค่าบริการหรือค่าที่พักสำหรับการเดินทางท่องเที่ยว ในจังหวัดท่องเที่ยวรอง และในจังหวัดอื่นซึ่งมิใช่จังหวัดท่องเที่ยวรอง

        “ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวที่ได้รับใบอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์  (รายชื่อ คลิ๊กที่นี่)
        “ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ได้รับใบอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม  (ค้นหารายชื่อ คลิ๊กที่นี่)
        “ผู้ประกอบกิจการโฮมสเตย์ไทยหมายความว่า ผู้ประกอบกิจการให้บริการที่พัก โฮมสเตย์ไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยจากกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา  (ข้อมูลโฮมสเตย์ไทย คลิ๊กที่นี่)
        “ผู้ประกอบกิจการสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม” หมายความว่า ผู้ประกอบกิจการ ให้บริการที่พักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม (ค้นหารายชื่อ คลิ๊กที่นี่)
        “สถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม” หมายความว่าสถานที่พักที่มีจำนวนห้องพักในอาคารเดียวกัน หรือหลายอาคารรวมกันไม่เกินสี่ห้องและมีจำนวนผู้พักรวมกันทั้งหมดไม่เกินยี่สิบคน ซึ่งจัดตั้งขึ้น เพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน อันมีลักษณะเป็น การประกอบกิจการเพื่อหารายได้เสริม และได้แจ้งให้นายทะเบียนทราบตามแบบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนด


หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

        1. เป็นการจ่ายค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัด ท่องเที่ยวรอง และในจังหวัดอื่นซึ่งมิใช่จังหวัดท่องเที่ยวรอง
        2. เป็นการจ่ายค่าที่พักโรงแรม  โฮมสเตย์ไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยจากกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม  ในจังหวัดท่องเที่ยวรองและในจังหวัดอื่นซึ่งมิใช่จังหวัดท่องเที่ยวรอง
        3. เป็นการจ่ายค่าบริการหรือค่าที่พัก ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2562 ถึง 30 มิถุนายน 2562
        4. สำหรับการจ่ายค่าบริการหรือค่าที่พักในจังหวัดท่องเที่ยวรอง ใช้สิทธิลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 20,000 บาท
        5. สำหรับการจ่ายค่าบริการหรือค่าที่พักในจังหวัดอื่นซึ่งมิใช่จังหวัดท่องเที่ยวรอง ให้ใช้สิทธิลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

***  หากมีการจ่ายค่าบริการหรือค่าที่พัก ทั้งในจังหวักท่องเที่ยวรอง และจังหวัดอื่นที่ไม่ใช่จังหวัดท่องเที่ยวรอง  สามารถใช้สิทธิลดหย่อนไม่เกินจำนวนที่กำหนด แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 20,000 บาท
เช่น  กรณีที่ 1   จ่ายค่าโรงแรมในจังหวัดท่องเที่ยวรอง     20,000 บาท
                         จ่ายค่าบริการนำเที่ยวในจังหวัดอื่น             5,000 บาท
                         สามารถนำไปหัก ลดหย่อนภาษีได้เพียง  20,000 บาท

        กรณีที่ 2   จ่ายค่าโรงแรมในจังหวัดท่องเที่ยวรอง        3,000 บาท
                         จ่ายค่าบริการนำเที่ยวในจังหวัดอื่น           16,000 บาท
                         สามารถนำไปหัก ลดหย่อนภาษีได้เพียง  18,000 บาท

        (เนื่องจาก ค่าที่พักหรือค่าบริการที่จ่ายในจังหวัดอื่นที่ไม่ใช่จังหวัดรองสามารถใช้สิทธิได้เพียง 15,000 บาท เท่านั้น)

เอกสารหลักฐาน


        1.  กรณีจ่ายค่าที่พักหรือค่าบริการให้แก่ผู้ให้บริการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีหลักฐาน ใบกำกับภาษีโดยระบุ
                -  ชื่อ นามสกุล ผู้มีเงินได้
                -  วัน เดือน ปีที่เดินทางท่องเที่ยวหรือเข้าพัก
                -  จังหวัดที่เดินทางท่องเที่ยวหรือจังหวัดที่พัก
        2.  กรณีจ่ายค่าที่พักหรือค่าบริการให้แก่ผู้ให้บริการที่ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีหลักฐาน ใบรับ (ใบเสร็จรับเงิน)  โดยระบุ
                -  ชื่อนามสกุลของผู้มีเงินได้
                -  วัน เดือน ปีที่เดินทาง ท่องเที่ยวหรือเข้าพัก
                -  จังหวัดที่เดินทางท่องเที่ยวหรือจังหวัดที่พัก
กรณีผู้ให้บริการตาม (1) หรือ (2) เป็นผู้ประกอบกิจการสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม ให้ระบุเลขที่รับแจ้งและจังหวัด ตามหนังสือรับแจ้งสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม ที่ออกโดยนายทะเบียน กระทรวงมหาดไทยด้วย

การหักค่าลดหย่อน

        1.  ผู้ที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนนี้ได้ ต้องเป็นผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา  ลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินจำนวนที่กำหนด
        2.  กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ลดหย่อนได้เฉพาะผู้ที่มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินจำนวนที่กำหนด
        3. กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
            1) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้  ให้ต่างฝ่ายต่างนำไปลดหย่อนภาษีในส่วนของตนเองตามจำนวน ที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินจำนวนที่กำหนด
            2) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงินได้พึงประเมินของตน เป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่ง  ให้ผู้มีเงินได้นำไปลดหย่อนภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่ไม่เกินจำนวนที่กำหนด และสามารถหักลดหย่อน ส่วนของสามีหรือภริยาได้อีกตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินจำนวนที่กำหนด

จังหวัดท่องเที่ยวเมืองรอง




อ้างอิง

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 349)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น