สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการลงทุนในหน่วยลงทุน LTF
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund : LTF) เป็นกองทุนรวมที่เน้นการลงทุนในหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไม่น้อยกว่า 65 % ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน รายละเอียดการลงทุนในหุ้นจะขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุน ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีเงินปันผลจ่ายคืน ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนก็ได้ ซึ่งผู้ลงทุนจะต้องเข้าใจและยอมรับความเสี่ยงในการลงทุน ตลอดจนสิทธิประโยชน์ที่จะได้จากการลงทุน
ในที่นี้เราจะพูดถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่จะได้รับจากการลงทุนในหน่วยลงทุน LTF กัน สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่จะได้รับแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ
1. สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการซื้อหน่วยลงทุน LTF (ใช้สิทธิลดหย่อน)
2. สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการขายหน่วยลงทุน LTF (สิทธิยกเว้นเงินได้)
สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการซื้อหน่วยลงทุน LTF (ใช้สิทธิลดหย่อน)
สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการซื้อหน่วยลงทุน LTF สามารถนำไปหักออกจากเงินได้พึงประเมินที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว เสมือนเป็นค่าลดหย่อน แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
1. ต้องเป็นบุคคลธรรมดา (ไม่รวมห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง)
2. ในการซื้อหน่วยลงทุน LTF ซื้อในปีใดให้ใช้สิทธิลดหย่อนในปีนั้น
3. ไม่ต้องซื้อติดต่อกันทุกปี จะซื้อเมื่อไหร่ก็ได้ (ไม่บังคับเหมือน RMF )
4. แต่ต้องถือหน่วยลงทุน LTF ต่อเนื่องกัน (ยกเว้นกรณีทุพพลภาพหรือตาย)
4.1 หน่วยลงทุน LTF ที่ซื้อก่อนวันที่ 1 มกราคม 2559 ต้องถือหน่วยลงทุนต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน
4.2 หน่วยลงทุน LTF ที่ซื้อระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2559 - 31 ธันวาคม 2562 ต้องถือหน่วยลงทุนต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 7 ปีปฏิทิน
*** การนับระยะเวลา เราจะนับระยะเวลาการถือหน่วยลงทุนเป็นแบบปีปฏิทิน เช่น ซื้อหน่วยลงทุน LTF เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2555 แล้วขายไป วันที่ 6 มกราคม 2561 การนับคือเริ่มนับปี 2555, 2556, 2557, 2558, 2559, 2560, 2561 รวม 7 ปีปฏิทินโดยไม่ต้องสนใจว่าจำนวนวันจะครบปีหรือไม่ก็ตาม
5. หากต้องการโอนหน่วยลงทุน LTF ทั้งหมดหรือบางส่วนไปยังกองทุน LTF อีกกองหนึ่ง จะต้องโอนการลงทุนภายใน 5 วันทำการ นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่โอนได้รับคำสั่งโอนจากผู้มีเงินได้ จึงจะถือว่าระยะเวลาในการถือหน่วยลงทุนมีระยะเวลาต่อเนื่องกัน
ระยะเวลาการใช้สิทธิประโยชน์
เป็นการซื้อหน่วยลงทุน LTF ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2559 - 31 ธันวาคม 2562
สิทธิค่าลดหย่อน
สามารถใช้สิทธินำไปหักเสมือนเป็นค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น และไม่เกิน 500,000 บาท
รายละเอียดฐานในการคำนวณเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้(คลิกที่นี่)
หลักฐานในการใช้สิทธิลดหย่อน
หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่แสดงได้ว่ามีการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมหุ้นระยะยาว
การผิดเงื่อนไข
กรณีที่ได้มีการใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีเงินได้ไปแล้วต่อมาปฏิบัติไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เช่น ถือครองหน่วยลงทุนไม่ถึง 7 ปีปฏิทินแล้วขายไป ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมในปีภาษีที่ได้มีการนำ LTF ไปใช้สิทธิลดหย่อน เพื่อชำระภาษีเพิ่มเติม พร้อมเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 บาทต่อเดือน
เช่น นาย ก ได้ซื้อ LTF ในปี 2558 และได้นำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2558 จำนวน 200,000 บาท ต่อมาในปี 2561 นาย ก ได้ขาย LTF ที่ซื้อมาในปี 2558 นั้นไป ถือว่า นาย ก ทำผิดเงื่อนไขเนื่องจากถือหน่วยลงทุนไม่ถึง 5 ปี นาย ก ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีภาษี 2558 เพิ่มเติม เพื่อปรับปรุงโดยการนำ LTF ที่ใช้จำนวน 200,000 บาท ออก มีผลทำให้มีภาษีต้องชำระเพิ่มเติมพร้อมเงินเพิ่มตามกฎหมาย
สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการขายหน่วยลงทุน LTF (สิทธิยกเว้นเงินได้)
เมื่อซื้อหน่วยลงทุน LTF มาแล้วก็ต้องมีการขาย การขายหน่วยลงทุน LTF นั้นผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือมีผลกำไรจากการลงทุนก็ได้ หากขาดทุนก็ไม่เป็นไรในทางภาษี แต่หากมีกำไรขึ้นมาถิอว่าเป็นผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นมาจากการลงทุน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องนำไปรวมคำนวนภาษี แต่กฎหมายก็ได้กำหนดให้ยกเว้นเงินหรือผลประโยชน์จากการขายหน่วยลงทุน LTF ไว้ หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ที่กฎหมายกำหนด
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
1. ต้องเป็นเงินหรือผลประโยชน์ที่เกิดจากการขายหน่วยลงทุน LTF ในส่วนที่นำไปใช้สิทธิลดหย่อน
2. หน่วยลงทุน LTF ที่ซื้อก่อนวันที่ 1 มกราคม 2559 ต้องถือหน่วยลงทุนต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 5 ปีปฎิทิน
3. หน่วยลงทุน LTF ที่ซื้อระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2559 - 31 ธันวาคม 2562 ต้องถือหน่วยลงทุนต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 7 ปีปฎิทิน
4. กรณีทุพพลภาพหรือตาย จะไม่นับระยะเวลาการถือหน่วยลงทุน
ตัวอย่าง นาย ก มีเงินได้พึงประเมินในปี 2557 จำนวน 3,000,000 บาท ได้ซื้อหน่วยลงทุน LTF ในปี 2557 จำนวน 500,000 บาท และได้นำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ในปีภาษี 2557 จำนวน 450,000 บาท (ร้อยละ 15 ของ 3,000,000 เท่ากับ 450,000 บาท) ต่อมาในปี 2561 นาย ก ได้ขายหน่วยลงทุน LTF ที่ได้ซื้อมาในปี 2557 ไปได้รับผลตอบแทนเพิ่มร้อยละ 10 รวมได้รับเงินจากการขายหน่วยลงทุน LTF มาจำนวน 550,000 บาท
1. นาย ก ซื้อ LTF ในปี 2557 และได้ขายไปในปี 2561 มีระยะเวลาการถือหน่วยลงทุน 5 ปี นับแต่ซื้อหน่วยลงทุน เข้าเงื่อนไขการได้รับยกเว้น
2. การได้สิทธิยกเว้น นาย ก จะได้สิทธิยกเว้นเฉพาะผลประโยชน์ที่เกิดจากส่วนที่ นาย ก นำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษี
- นาย ก ใช้สิทธิลดหย่อน LTF ในปี 2557 = 450,000 บาท
ผลประโยชน์ในส่วนนี้ ร้อยละ 10 = 45,000 บาท (ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้)
- นาย ก ไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อน LTF ในปี 2557 = 50,000 บาท
ผลประโยชน์ในส่วนนี้ ร้อยละ 10 = 5,000 บาท (ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้)
3. ในปีภาษี 2561 นาย ก ต้องกรอกรายการในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ (ภ.ง.ด. 90 ) ในส่วนของการขาย LTF ดังนี้
การยกเว้นเงินได้
ยกเว้นเงินหรือผลประโยชน์ที่เกิดจากการลงทุนในหน่วยลงทุน LTF ที่ได้นำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษี (ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษี และไม่เกิน 500,000 บาทในแต่ละปีภาษี)ตัวอย่าง นาย ก มีเงินได้พึงประเมินในปี 2557 จำนวน 3,000,000 บาท ได้ซื้อหน่วยลงทุน LTF ในปี 2557 จำนวน 500,000 บาท และได้นำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ในปีภาษี 2557 จำนวน 450,000 บาท (ร้อยละ 15 ของ 3,000,000 เท่ากับ 450,000 บาท) ต่อมาในปี 2561 นาย ก ได้ขายหน่วยลงทุน LTF ที่ได้ซื้อมาในปี 2557 ไปได้รับผลตอบแทนเพิ่มร้อยละ 10 รวมได้รับเงินจากการขายหน่วยลงทุน LTF มาจำนวน 550,000 บาท
1. นาย ก ซื้อ LTF ในปี 2557 และได้ขายไปในปี 2561 มีระยะเวลาการถือหน่วยลงทุน 5 ปี นับแต่ซื้อหน่วยลงทุน เข้าเงื่อนไขการได้รับยกเว้น
2. การได้สิทธิยกเว้น นาย ก จะได้สิทธิยกเว้นเฉพาะผลประโยชน์ที่เกิดจากส่วนที่ นาย ก นำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษี
- นาย ก ใช้สิทธิลดหย่อน LTF ในปี 2557 = 450,000 บาท
ผลประโยชน์ในส่วนนี้ ร้อยละ 10 = 45,000 บาท (ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้)
- นาย ก ไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อน LTF ในปี 2557 = 50,000 บาท
ผลประโยชน์ในส่วนนี้ ร้อยละ 10 = 5,000 บาท (ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้)
3. ในปีภาษี 2561 นาย ก ต้องกรอกรายการในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ (ภ.ง.ด. 90 ) ในส่วนของการขาย LTF ดังนี้
โดยต้องนำผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นจากการขาย LTF ในส่วนที่ไม่ได้รับยกเว้นเงินได้จำนวน 5,000 บาท ไปรวมคำนวณภาษี
ดังนั้นการซื้อหน่วยลงทุน LTF มาเพื่อจะใช้ลดหย่อนภาษีโดยไม่พิจารณาถึงความเสี่ยงหรือผลตอบแทนที่จะได้รับกลับคืนมาเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำโดยอย่างยิ่ง การลงทุนโดยการซื้อหน่วยลงทุน LTF เพื่อมาใช้ลดหย่อนภาษี เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้สูง และต้องเสียภาษีในอัตราที่สูง เช่น เสียภาษีในอัตราร้อยละ 20 แล้วผลจากการลงทุน LTF เกิดขาดทุน ร้อยละ 10 ก็ยังถือว่าได้กำไรเพราะลดการชำระภาษีไปในอัตราที่สูงกว่านั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น