สถานภาพการสมรสกับการเสียภาษี
พอเราเติบโตขึ้นถึงวัยที่ต้องทำงาน เริ่มมีรายได้ เริ่มนึกถึงการสร้างครอบครัว อยากแต่งงาน สำหรับคนที่มีคนรักอยู่แล้วก็ไม่มีปัญหา เมื่อพร้อมก็สามารถแต่งงานได้เลย คนที่ยังไม่มีก็ต้องพยายามกันต่อไป รึสมัครใจจะอยู่คนเดียวก็ไม่แปลก อยู่ที่ความสุข ความสบายใจ ของแต่ละคนการแต่งงาน การสมรส เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่มีบทบาทมากก็เรื่องค่าลดหย่อนทั้งหลายทั้งแหล่นั่นเอง เรามาดูกันว่ามันมีความสำคัญอย่างไร
คู่สมรส???
คู่สมรสตามความหมายของสรรพากร ก็คือคู่สมรสคามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่หมายถึง ชายและหญิงจดทะเบียนสมรสกันและอยู่กินกันฉันสามีภริยา
ดังนั้นเอกสารที่ยืนยันการสมรสก็คือ ทะเบียนสมรสนั่นเอง เพราะบางคนอยู่กินกันฉันสามีภริยามานานนับ 10 ปี แต่ไม่เคยจดทะเบียนสมรสกันเลย อย่างนี้ไม่นับว่าเป็นคู่สมรสตามกฎหมาย
คู่สมรส แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- คู่สมรสมีเงินได้ คู่สมรสมีเงินได้ ความหมายง่ายๆก็คือ คู่สมรสของเรานั้นมีรายได้เป็นของตัวเอง นับรวมรายได้ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า รายได้จากการขายของ ทำธุรกิจส่วนตัว ฯลฯ ไม่ว่าจะมากน้อยแค่ไหนก็ตามถือว่ามีเงินได้หมด
- คู่สมรสไม่มีเงินได้ ก็คือ คู่สมรสที่ไม่ได้ทำงานอะไรเลย ไม่มีรายได้ที่เกิดจากน้ำพักน้ำแรงของตนเอง ได้รับเฉพาะ
- เงินที่สามีหรือภริยาที่มีเงินได้เป็นผู้ให้ เงินดังกล่าวเราไม่นับเป็นเงินได้เพราะถือว่าเป็นเงินที่ได้รับจากการอุปการะหรือการให้ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย แต่ก็ต้องให้ไม่เกินปีละ 20 ล้านบาทนะ
- ดอกเบี้ย และเงินปันผล ที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ตามกฎหมายแล้ว และไม่ได้นำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี
ปีภาษีในที่นี้หมายถึง ปีปฏิทินที่เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม - ธันวาคม
สถานภาพการสมรส
สถานภาพการสมรส แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
- การสมรสระหว่างปีภาษี เป็นการสมรสที่มีการจดทะเบียนสมรสในปีแรก ระยะเวลาของการสมรสไม่ครบปีภาษี
- การสมรสมีตลอดปีภาษี ก็เป็นการสมรสในปีถัดๆไปที่ระยะเวลาในการสมรสมีอยู่ตลอดทั้งปี แต่หากมีการหย่าเกิดขึ้นเราก็ไม่ถือว่าก่ีสมรสมีตลอดปีภาษี
สถานภาพการสมรสกับการเสียภาษี
สถานภาพการสมรสและการมีเงินได้หรือไม่มีเงินได้ของคู่สมรสเกี่ยวข้องโดยตรงกับการหักค่าลดหย่อน ในแต่ละประเภท ซึ่งเราต้องตรวจสอบและศึกษาหลักเกณฑ์และรายละเอียดของค่าลดหย่อนแต่ละประเภทให้รอบคอบก่อนที่จะนำมาใช้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต้องเสียภาษีเพิ่มรวมถึงเงินเพิ่มด้วย ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างเช่น เบี้ยประกันชีวิต หากเพิ่งจดทะเบียนสมรสกันในปีแรก และคู่สมรสไม่มีเงินได้ เราจะไม่สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000.00 บาท มาใช้ได้เลย แต่สามารถนำมาใช้ได้ในปีถัดไปที่การสมรสมีตลอดปีภาษีนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น