E-Payment กับการฝากและรับโอนเงิน - TaxTeller

วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2562

E-Payment กับการฝากและรับโอนเงิน

E-Payment กับการฝากและรับโอนเงิน

        จากการที่วิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป มีการใช้เทคโนโลยีกันมากขึ้น การขายของในปัจจุบันก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีหน้าร้าน สามารถขายสินค้าและทำธุรกรรมทางการเงินผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้  รัฐบาลจึงมีมาตรการให้สถาบันการเงินและผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ รายงานข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงิน ที่เป็นธุรกรรมลักษณะเฉพาะแก่กรมสรรพากร 
       แล้วธุรกรรมลักษณะเฉพาะเป็นอย่างไร แล้วใครต้องเป็นผู้รายงานบ้างล่ะ

ธุรกรรมลักษณะเฉพาะ

       ธุรกรรมลักษณะเฉพาะในที่นี้หมายถึง การฝากเงินเข้าบัญชี  การรับโอนเงิน ตั้งแต่เดือนมกราคม - ธันวาคม ในแต่ละปี  ที่มีเงื่อนไขดังนี้
        1. การฝากเงิน หรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้ง ขึ้นไป ต่อหนึ่งสถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์
        2. การฝากเงิน หรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง ขึ้นไป และ มีจำนวนเงินรวมตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึ้นไป ต่อหนึ่งสถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์

ผู้ที่มีหน้าที่รายงานข้อมูล

        ผู้ที่มีหน้าที่รายงานข้อมูลธุรกรรมลักษณะเฉพาะต่อกรมสรรพากรได้แก่
        1. สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน  เช่น ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
        2. สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น เช่น ธกส., ธอส., ออมสิน, SME Bank
        3. ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์  เช่น Truemoney, MRT, Rabbit  linepay

หลักเกณฑ์การนับจำนวนธุรกรรมลักษณะเฉพาะ

        การนับจำนวนครั้งของการทำธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงิน จะเป็นการนับจำนวนครั้งที่มีการฝาก หรือโอนเงินเข้าบัญชี ดังนี้
        1. นับการโอนเงินจากบัญชีหนึ่งไปยังอีกบัญชีหนึ่งของตนเองในธนาคารเดียวกัน
        2. นับการโอนเงินจากบัญชีหนึ่งไปยังอีกบัญชีหนึ่งของตนที่อยู่ต่างธนาคาร (ธนาคารปลายทางผู้รับเงินหรือรับโอนเป็นผู้นับ)
        3. นับการฝากเงินเข้าบัญชีตนเองผ่านเคาท์เตอร์ธนาคาร หรือตู้ ATM
        4. กรณีเปิดบัญชีครั้งแรกให้นับรวมด้วย
        5. กรณีการเปิดบัญชีร่วม หากมีการเก็บข้อมูลเลขประจำตัวประชาชนของผู้เปิดบัญชีร้่วมทุกคนให้ถือว่าเป็นการโอนเงินเข้าบัญชีของแต่ละรายผู้เป็นเจ้าของบัญชี แต่หากมีการเก็บข้อมูลเลขประจำตัวประชาชนของผู้เปิดบัญชีเพียงคนเดียวให้ถือว่าเป็นการโอนเงินเข้าบัญชีของผู้เปิดบัญชีนั้น
        6. กรณีมีการเปิดบัญชีในนามคณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ และธนาคารเก็บข้อมูลโดยใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษี  ถือเป็นข้อมูลของคณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น ไม่เกี่ยวกับบัญชีส่วนตัวของบุคคลที่อยู่ในคนธบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น

 ผลบังคับใช้

        1. กฎหมายมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2562
        2. วันที่เริ่มเก็บข้อมูลครั้งแรกในปี 2562 กฎหมายยังไม่ได้กำหนด แต่ต้องส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563
        3. ในปีถัดไปเป็นการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม - ธันวาคม และนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรภายในเดือนมีนาคม ของปีถัดไป

ตัวอย่าง

ตัวอย่างที่ 1 
ตัวอย่างที่ 2
ตัวอย่างที่ 3
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิง : www.rd.go.th

2 ความคิดเห็น:

  1. คุณต้องการเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ย 3% หรือไม่? ถ้าใช่ผู้สมัครที่สนใจควรติดต่อเราวันนี้เพื่อขอสินเชื่อออนไลน์ที่ง่ายและรวดเร็วโดยไม่ต้องมีหลักประกัน
    อีเมล: atlasloanfirm@outlook.com
    Hangout: +1 (443) -345-9339
    WhatsApp: +1 (443) -345-9339

    ตอบลบ
  2. ใช้หลักฐานอะไรบ้างคะสนใจคะะ

    ตอบลบ