ภาษีการรับให้ - TaxTeller

วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ภาษีการรับให้

ภาษีการรับให้

        ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 521 "อันว่าให้นั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้โอนทรัพย์สิน ของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น"
        การให้ในลักษณะนี้ มีผล 2 อย่าง คือ
           1. การให้ในขณะที่ผู้ให้ยังมีชีวิตอยู่  จะเกี่ยวข้องกับภาษีการรับให้
           2. การให้หลังจากที่ผู้ให้เสียชีวิตแล้ว จะเป็นในรูปของมรดก หรือตามพนัยกรรม  อันนี้จะเกี่ยวข้องกับเรื่องภาษีมรดก
       ในตอนนี้เราจะกล่าวถึงการให้ที่ผู้ให้ยังมีชีวิตอยู่ (Gift Tax) ซึ่งวัตถุประสงค์ของการให้ในลักษณะนี้เป็นการให้ ที่ฝ่ายผู้รับได้รับทรัพย์สินที่ผู้ให้ยกให้ไปเปล่าๆ  ไม่มีหน้าที่ต้องให้อะไรเป็นการตอบแทน เป็นการให้ที่ไม่มีเงื่อนไข

ทรัพย์สินที่ให้

        ทรัพย์สินที่ให้แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ สังหาริมทรัพย์ และ อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งแต่ละประเภทมีหลักเกณฑ์เงื่อนไขการได้รับยกเว้นภาษีแตกต่างกัน
หลักเกณฑ์

       1. สังหาริมทรัพย์   สังหาริมทรัพย์ในที่นี้หมายถึง สังหาริมทรัพย์ทุกประเภทที่สามารถคำนวณได้เป็นเงิน


บุพการี  หมายถึง ผู้สืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป เช่น บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย
ผู้สืบสันดาน หมายถึง ผู้สืบสายโลหิตโดยตรงลงมา เช่น ลูก หลาน เหลน ลื่อ
คู่สมรส หมายถึงสามีภริยาที่จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย

       2. อสังหาริมทรัพย์  หมายถึง  การโอนกรรมสิทธิหรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน


ตัวอย่างเช่น

         นาย ก  และ นาง ข มีบุตรคือ นาย ง  ในปี 2562
นาย ก มอบทองคำแท่งให้ นาง ข มูลค่า 25 ล้านบาท
นาย ก โอนที่ดินให้ นาย ง มูลค่า 23 ล้านบาท และมอบเงินให้อีก 15 ล้านบาท
นาง ข มอบเงินให้ นาย ง จำนวน 7 ล้านบาท
ภาระภาษีแยกได้ดังนี้
        1. นาย ก โอนที่ดินให้บุตร คือนาย ง มูลค่า 23 ล้านบาท นาย ก มีภาระภาษีดังนี้
            -  จะได้รับยกเว้นเงินได้ ในส่วน 20 ล้านบาท
            -  ส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท  คือจำนวน 3 ล้านบาท ไม่ได้รับยกเว้น  นาย ก จะถูกสำนักงานที่ดินหัก ภาษี ณ ที่จ่ายไว้ จำนวน 5% สำหรับมูลค่า 3 ล้านบาท ณ วันที่มีการโอนกรรมสิทธิ
            -  นาย ก มีสิทธิเลือกที่จะนำจำนวนเงิน 3 ล้านบาท ไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปลายปี (สามารถนำภาษีที่ที่ดินหักไว้ร้อยละ 5 ไปใช้เครดิตในการคำนวณภาษีได้) หรือเลือกที่จะเสียภาษีร้อยละ 5 ก็ได้ (ตามจำนวนเงินที่ที่ดินหักไว้แล้วร้อยละ 5 โดยไม่ต้องไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปลายปีอีก)
        2. นาง ข ได้รับทองคำแท่งจาก นาย ก ซึ่งเป็นสามี มีมูลค่า 25 ล้านบาท นาง ข มีภาระภาษีดังนี้
            -  จะได้รับยกเว้นเงินได้ ในส่วน 20 ล้านบาท
            -  ส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท  คือจำนวน 5 ล้านบาท ไม่ได้รับยกเว้น 
            -  นาง ข มีสิทธิเลือกที่จะนำจำนวนเงิน 5 ล้านบาท ไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปลายปี  หรือเลือกที่จะเสียภาษีร้อยละ 5 ก็ได้
         3. นาย ง  ได้รับเงินจากบิดา คือ นาย ก จำนวน 15 ล้านบาท และได้รับเงินจากมารดา คือ นาง ข อีก จำนวน 7 ล้านบาท รวมในปี 2562 นาย ง ได้รับเงินจากบิดามารดา รวมจำนวน 22 ล้านบาท นาย ง  มีภาระภาษีดังนี้
            -  จะได้รับยกเว้นเงินได้ ในส่วน 20 ล้านบาท
            -  ส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท  คือจำนวน 2 ล้านบาท ไม่ได้รับยกเว้น 
            -  นาย ง  มีสิทธิเลือกที่จะนำจำนวนเงิน 2 ล้านบาท ไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปลายปี  หรือเลือกที่จะเสียภาษีร้อยละ 5 ก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น