มาตรการภาษีเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
ตามที่กระทรวงแรงงานได้มีมติเห็นชอบให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างทุกคน โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 เป็นต้นไป โดยแต่ละจังหวัดจะมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่เหมือนกันจากการปรับปรุงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 มีผลทำให้ผู้ประกอบการมีค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงมีมาตรการภาษีเพื่อบรรเทาภาระรายจ่ายให้แก่ผู้ประกอบการ โดยมีรายละเอียดดังนี้
คำจำกัดความ
“ค่าจ้างรายวัน” หมายความว่า เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนใน การทํางานตามสัญญาจ้างสําหรับระยะเวลาการทํางานปกติเป็นรายวัน หรือจ่ายให้โดยคํานวณตามผลงาน ที่ลูกจ้างทําได้ในเวลาทํางานปกติของวันทํางาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ในวันหยุดและวันลาที่ลกจู ้างมิได้ทํางาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน“ขาย” หมายความว่า จําหน่าย จ่าย หรือโอนสินค้า โดยมีหรือไม่มีประโยชน์ หรือค่าตอบแทน และให้หมายความรวมถึงสัญญาให้เช่าซื้อสินค้า สัญญาซื้อขายผ่อนชําระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอน ไปยังผู้ซื้อเมื่อมีการส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้ว และการส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร
“สินค้า” หมายความว่า ทรัพย์สินที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่างที่อาจมีราคาและถือเอาได้ที่มีไว้ เพื่อขายเท่านั้น
“บริการ” หมายความว่า การกระทําใดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า
ผู้ประกอบการที่ได้รับสิทธิประโยชน์
1. บุคคลธรรมดา ที่เป็นผู้ประกอบการและมีคุณสมบัติ ดังนี้
- มีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน
- มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้รวมกันแล้วไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อปี (ก่อนหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน)
- ต้องหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรเท่านั้น (ค่าใช้จ่ายจริง)
- ต้องหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรเท่านั้น (ค่าใช้จ่ายจริง)
2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มีคุณสมบัติดังนั้
- มีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน
- มีรายได้จากการขายสินค้าและให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีที่ใช้สิทธิรวมกันไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อปี
เงื่อนไข
1. ต้องเป็นค่าจ้างที่รายวันที่จ่ายให้แก่ลูกจ้าง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 - 31 ธันวาคม 2561 ที่มีลักษณะดังนี้
- ต้องเป็นการจ่ายค่าจ้างที่ไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่คณะกรรมการค่าจ้างประกาศกำหนด ณ วันที่ 1 เมษายน 2561 หรือ
- ต้องเป็นการจ่ายค่าจ้างในอัตราที่สูงกว่าอัตราค่าจ้างเดิมที่เคยจ่ายก่อนวันที่ 1 เมษายน 2561
2. ต้องไม่มีการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เนื่องจากรายจ่ายในการจ้างงานตามพระราชกฤษฏีกาอื่นที่ออกตามความในประมวลรัษฎากรอีก ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
3. ต้องจัดทำรายงานเกี่ยวกับการจ้างลูกจ้างรายวันที่จะใช้ยกเว้นเงินได้ และเก็บรักษารายงานไว้ ณ สถานประกอบการ
4. ต้องสามารถแสดงหลักฐานต่อหน้ากรมสรรพากรและพิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายค่าจ้างรายวันให้แก่ลูกจ้าง
3. ต้องจัดทำรายงานเกี่ยวกับการจ้างลูกจ้างรายวันที่จะใช้ยกเว้นเงินได้ และเก็บรักษารายงานไว้ ณ สถานประกอบการ
4. ต้องสามารถแสดงหลักฐานต่อหน้ากรมสรรพากรและพิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายค่าจ้างรายวันให้แก่ลูกจ้าง
สิทธิประโยชน์
หักค่าใช้จ่ายได้ 1.15 เท่า ของค่าจ้างรายวันเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 400 บาท สำหรับค่าจ้างรายวันที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 - 31 ธันวาคม 2561
ส่วนหลักเกณฑ์ หลักฐาน เอกสารที่ใช้ ยังไม่มีกฏหมายกำหนดออกมาให้ชัดเจน หากมีรายละเอียดเพิ่มเติมจะนำมา update เพิ่มให้ในภายหลัง ตอนนี้ใช้เป็นแนวทางในการเตรียมตัวกันไปก่อน เพราะว่าใกล้จะหมดระยะเวลาตามมาตรการแล้ว
--------------------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น