การหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
การหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในที่นี้ เป็นดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมาเพื่อซื้อ หรือเช่าซื้ออาคาร อาคารพร้อมที่ดิน ห้องชุดในอาคารชุด หรือเพื่อสร้างอาคารใช้อยู่อาศัยบนที่ดินของตนเองหรือบนที่ดินที่ตนเองมีสิทธิครอบครอง โดยต้องมีการจำนองอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด หรืออาคารพร้อมที่ดินนั้นเป็นหลักประกันในการกู้ยืม โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. ต้องเป็นการกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ (เจ้าหนี้) ดังนี้
1.1 ผู้ให้กู้ต้องเป็นผู้ประกอบกิจการในประเทศไทย ได้แก่
- ธนาคาร
- บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
- บริษัทประกันชีวิต
- สหกรณ์
- นายจ้างซึ่งมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนที่จัดสรรไว้เพื่อสวัสดิการแก่ลูกจ้าง
- บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่
อาศัย
1.2 กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1.3 กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1.4 นิติบุคคลเฉพาะกิจซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจดังกล่าวเข้ารับช่วงสิทธิเป็นเจ้าหนี้เงินกู้แทนกองทุนรวมตาม (1.2) หรือ (1.3) ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ หรือนายจ้าง
1.5 กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
1.6 รวมถึงการแปลงหนี้ใหม่ (Refinance) จากการเปลี่ยนแปลงเจ้าหนี้เงินกู้ยืมตามข้อ 1.1 - 1.5
2. ต้องเป็นการกู้ยืมเงินเพื่อ
2.1 ซื้อหรือเช่าซื้ออาคาร
2.2 ซื้อหรือเช่าซื้ออาคารพร้อมที่ดิน
2.3 ซื้อหรือเช่าซื้อห้องชุดในอาคารชุด
2.4 สร้างอาคารใช้อยู่อาศัยบนที่ดินของตนเองหรือบนที่ดินที่ตนเองมีสิทธิครอบครอง
3.โดยต้องจำนองอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด หรืออาคารพร้อมที่ดินเป็นประกันการกู้ยืมเงินนั้น โดยมีระยะเวลาจำนองตามระยะเวลาการกู้ยืม
4. ต้องใช้เป็นที่อยู่อาศัยในปีภาษีที่นำมาหักลดหย่อน หากมีที่ยู่อาศัยเกินกว่า 1 แห่ง และเข้าหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ทุกแห่ง กรณีมีเหตุจำเป็นไม่สามารถอยู่อาศัยได้ แต่ยังสามารถนำมาใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ หากเป็นเหตุจำเป็นดังนี้
- ถูกนายจ้างส่งให้ไปปฏิบัติงานของนายจ้าง ในต่างถิ่นเป็นประจำ
- เกิดอัคคีภัย
- เกิดภัยธรรมชาติ
- หรือภัยอันเกิดจากเหตุอื่นที่ไม่ใช่ความผิดของผู้มีเงินได้ ที่ทำให้ไม่สามารถอยู่อาศัยได้
2. กรณีแปลงหนี้ใหม่ (Refinance) โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เงินกู้ยืม(เจ้าหนี้ใหม่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้างต้น) ให้สามารถนำดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมมาหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000.-บาท
3. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมนี้ ให้รวมถึงดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อชำระหนี้เงินกู้เพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย หรือห้องชุดด้วย แต่ต้องเป็นดอกเบี้ยที่เกิดจากการชำระหนี้ในส่วนที่ไม่เกินหนี้ที่ค้างชำระนั้น
4. การใช้สิทธิลดหย่อนนั้น สามารถใช้ได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่าการกู้ยืมนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ในปีภาษี
หรือง่ายๆ ก็คือไม่ว่าการกู้ยืมเงินนั้นจะเกิดต้นปี กลางปี หรือปลายปีก็ตาม ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่เกิดในปีภาษีนั้นสามารถนำมาใช้ลดหย่อนได้
5. สิทธิการหักลดหย่อนให้ใช้เฉพาะผู้มีเงินได้เท่านั้น
1.1 ผู้ให้กู้ต้องเป็นผู้ประกอบกิจการในประเทศไทย ได้แก่
- ธนาคาร
- บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
- บริษัทประกันชีวิต
- สหกรณ์
- นายจ้างซึ่งมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนที่จัดสรรไว้เพื่อสวัสดิการแก่ลูกจ้าง
- บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่
อาศัย
1.2 กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1.3 กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1.4 นิติบุคคลเฉพาะกิจซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจดังกล่าวเข้ารับช่วงสิทธิเป็นเจ้าหนี้เงินกู้แทนกองทุนรวมตาม (1.2) หรือ (1.3) ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ หรือนายจ้าง
1.5 กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
1.6 รวมถึงการแปลงหนี้ใหม่ (Refinance) จากการเปลี่ยนแปลงเจ้าหนี้เงินกู้ยืมตามข้อ 1.1 - 1.5
2. ต้องเป็นการกู้ยืมเงินเพื่อ
2.1 ซื้อหรือเช่าซื้ออาคาร
2.2 ซื้อหรือเช่าซื้ออาคารพร้อมที่ดิน
2.3 ซื้อหรือเช่าซื้อห้องชุดในอาคารชุด
2.4 สร้างอาคารใช้อยู่อาศัยบนที่ดินของตนเองหรือบนที่ดินที่ตนเองมีสิทธิครอบครอง
3.โดยต้องจำนองอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด หรืออาคารพร้อมที่ดินเป็นประกันการกู้ยืมเงินนั้น โดยมีระยะเวลาจำนองตามระยะเวลาการกู้ยืม
4. ต้องใช้เป็นที่อยู่อาศัยในปีภาษีที่นำมาหักลดหย่อน หากมีที่ยู่อาศัยเกินกว่า 1 แห่ง และเข้าหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ทุกแห่ง กรณีมีเหตุจำเป็นไม่สามารถอยู่อาศัยได้ แต่ยังสามารถนำมาใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ หากเป็นเหตุจำเป็นดังนี้
- ถูกนายจ้างส่งให้ไปปฏิบัติงานของนายจ้าง ในต่างถิ่นเป็นประจำ
- เกิดอัคคีภัย
- เกิดภัยธรรมชาติ
- หรือภัยอันเกิดจากเหตุอื่นที่ไม่ใช่ความผิดของผู้มีเงินได้ ที่ทำให้ไม่สามารถอยู่อาศัยได้
หลักเกณฑ์ค่าลดหย่อน
1. หักลดหย่อนได้เฉพาะดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000.- บาท2. กรณีแปลงหนี้ใหม่ (Refinance) โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เงินกู้ยืม(เจ้าหนี้ใหม่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้างต้น) ให้สามารถนำดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมมาหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000.-บาท
3. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมนี้ ให้รวมถึงดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อชำระหนี้เงินกู้เพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย หรือห้องชุดด้วย แต่ต้องเป็นดอกเบี้ยที่เกิดจากการชำระหนี้ในส่วนที่ไม่เกินหนี้ที่ค้างชำระนั้น
4. การใช้สิทธิลดหย่อนนั้น สามารถใช้ได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่าการกู้ยืมนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ในปีภาษี
หรือง่ายๆ ก็คือไม่ว่าการกู้ยืมเงินนั้นจะเกิดต้นปี กลางปี หรือปลายปีก็ตาม ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่เกิดในปีภาษีนั้นสามารถนำมาใช้ลดหย่อนได้
5. สิทธิการหักลดหย่อนให้ใช้เฉพาะผู้มีเงินได้เท่านั้น
6. กรณีการจ่ายดอกเบี้ยสำหรับการกู้ยืมเงินที่ได้เริ่มทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม
พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืม
7. กรณีการจ่ายดอกเบี้ยสำหรับการกู้ยืมเงินที่ได้ทำสัญญาก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564
หากผู้มีเงินได้เลือกไม่แจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืม ผู้มีเงินได้ต้องมี
หลักฐานจากเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมที่พิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายดอกเบี้ยสำหรับการกู้ยืมเงินนั้น
(แก้ไขเพิ่มเติมตาม ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 397 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2563 )
หลักฐาน
หนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมการใช้สิทธิ
1. กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้กู้ยืมในสัญญากู้ยืมเพียงคนเดียว หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000.-บาท2. กรณีมีผู้กู้ยืมหลายคนในสัญญากู้ยืมฉบับเดียว ผู้มีเงินได้สามารถหักลดหย่อนได้โดยการเฉลี่ยตามจำนวนของผู้กู้ยืมตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000.- บาท เช่น นาย ก นาย ข นาย ค และนาย ง ร่วมกันกู้เพื่อซื้ออาคารพร้อมที่ดิน และได้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไปในปี 2560 จำนวน 150,000.- บาท ทั้ง 4 คน เป็นผู้มีเงินได้ สามารถนำดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามสัญญาฉบับนี้ไปลดหย่อนในปีภาษี 2560 ได้คนละ 25,000.- บาท (100,000 หาร 4 เท่ากับ 25,000 นั่นเอง)
3. กรณีสามีภริยา กู้ยืมเงิน สรุปได้ดังนี้
ยกตัวอย่างเช่น นาย ก ได้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อห้องชุด ตั้งแต่ปี 2559 และได้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากการซื้ออาคารชุดในปี 2560 ไปจำนวน 50,000.- บาท ต่อมาในปี 2560 ได้สมรส กับ นาง ข และได้กู้ยืมเงินร่วมกันเพื่อซื้ออาคารพร้อมที่ดิน จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้ออาคารและที่ดิน ในปี 2560 ไปจำนวน 120,000.-บาท โดยที่ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ดังนั้นในปีาษี 2560 นาย ก และ นาง ข สามารถใช้สิทธิลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้ดังนี้
นาย ก ลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากการซื้อห้องชุด ได้จำนวน 50,000.- บาท
ลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากการกู้ร่วมซื้ออาคารและที่ดิน ได้จำนวน 50,000.- บาท
รวม นาย ก ใช้สิทธิลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ได้จำนวน 100,000.- บาท
นาง ข ลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากการกู้ร่วมซื้ออาคารและที่ดิน ได้จำนวน 50,000.- บาท
รวม นาง ข ใช้สิทธิลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ได้จำนวน 50,000.- บาท
(เนื่องจาก นาย ก และ นาง ข ร่วมกันกู้ยืมเพื่อซื้ออาคารพร้อมที่ดิน ดังนั้นดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมนั้นต้องนำมาหารเฉลี่ยตามจำนวนผู้กู้ร่วม โดยดอกเบี้ยนั้นต้องเป็นดอกเบี้ยตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000.- บาท นาย ก และ นาง ข จึงสามารถใช้สิทธิได้คนละครึ่งของดอกเบี้ย 100,000.- บาทนั่นเอง)
การใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ อาคาร ห้องชุดในอาคารชุด อาคารพร้อมที่ดิน หรือการสร้างอาคารบนที่ดินของตนเอง หรือที่ดินที่ตนมีสิทธิครอบครองนั้น โดยสรุปแล้วถ้าการกู้ยืมเงินนั้นเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ให้พิจารณาสัญญากันเป็นฉบับๆไป กล่าวคือดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเงินในสัญญาแต่ละฉบับนั้นสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000.-บาท แล้วต่อมาให้ดูจำนวนผู้กู้ร่วมโดยไม่ได้คำนึงถึงว่าผู้กู้ร่วมนั้นจะมีเงินได้หรือไม่ก็ตาม การจะใช้สิทธิลดหย่อนนั้นให้เฉลี่ยตามจำนวนผู้กู้ร่วมทุกคน ยกเว้นแค่เฉพาะกรณีสามีภริยากู้ร่วมกัน แล้วฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่มีเงินได้ ฝ่ายที่มีเงินได้สามารถใช้สิทธิได้เต็มจำนวนตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000.- บาท โดยไม่ต้องหารเฉลี่ยตามจำนวนผู้กู้ร่วม อันนี้เป็นข้อยกเว้นเพียงกรณีเดียวเท่านั้นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น